สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกับ สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ และ ม.ครุศาสตร์เทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาภาษาและวัฒนธรรมจีนสำหรับครูอาชีวศึกษา ณ มหาวิทยาลัยครุศาสตร์เทียนจิน นครเทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกับ สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และมหาวิทยาลัยครุศาสตร์เทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาภาษาและวัฒนธรรมจีนสำหรับครูอาชีวศึกษา ณ มหาวิทยาลัยครุศาสตร์เทียนจิน นครเทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้อนุมัติให้สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ดำเนินโครงการอบรมภาษาและวัฒนธรรมจีน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้แก่ครูอาชีวศึกษา ระหว่างวันที่ 15 – 28 ตุลาคม 2566 มีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 29 คน (โดยนางสาวระวีวรรณ วุฒิยศ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ มอบหมายให้นางสาวพิมพ์ชนก นาหลวง ครูภาษาจีน สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจเข้าร่วมโครงการ) อีกทั้งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้มอบนโยบายให้ครูที่ได้รับทุน มุ่งมั่นตั้งใจฝึกอบรมอย่างเต็มที่ และนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้านภาษาจีน+วิชาชีพให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ (CLEC) กระทรวงศึกษาธิการแห่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนทุนอบรมระยะสั้น จำนวน 29 ทุน
ซึ่งโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เพื่อพัฒนายกระดับการเรียนการสอนภาษาจีนในสถานศึกษาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
  2. เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถทักษะ และประสบการณ์ด้านภาษาจีนของครูอาชีวศึกษา
  3. เพื่อสร้างเครือข่ายครูผู้สอนภาษาจีนครูวิชาชีพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พัฒนาความสัมพันธ์ด้านวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน การเรียนการสอนภาษาจีนจากเจ้าของภาษา

ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้การใช้สื่อการสอนภาษาจีน การวิเคราะห์การจัดการชั้นเรียน การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในชีวิตประจำวัน การออกแบบการสอนในชั้นเรียน ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจีน รวมทั้งได้ศึกษาดูงานด้านโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจีน ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน พร้อมทั้งเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการหลู่ปัน (Luban Workshop) ของวิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาโป๋ห่าย ทำให้ครูที่เข้าอบรมได้รับความรู้ และประสบการณ์ทางด้านภาษา + วิชาชีพ และวัฒนธรรมจีน สามารถนำไปบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน สร้างความสนใจ แรงจูงใจ และสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีนให้แก่ผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อไป