สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก

Computer Graphic Program

หลักสูตรปริญญาตรี เทคโนโลยีบัณฑิต (ต่อเนื่อง)

เรียน 2 ปี รับผู้จบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สายตรงเท่านั้น

การเรียนการสอน

  • ทักษะพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก
  • การประยุกต์ใช้ศิลปะสมัยใหม่ ในการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานทางด้านกราฟิกดีไซน์
  • การพัฒนาเว็บไซต์
  • การออกแบบสื่อมัลติมีเดีย 2 มิติ และ 3 มิติ
  • การประเมินผลงานทางด้านศิลปะ
  • การผลิตสื่อดิจิตอล สื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์ สื่อวีดิทัศน์ สื่ออินโฟกราฟิก
  • ทำงานในรูปแบบโครงงาน (Project Oriented) ภายใต้ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
  • บูรณาการความรู้และทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกในการเรียนรู้ร่วมกับการทำงาน

แนวทางการประกอบอาชีพ

Illustrator, Graphic Designer, Web Designer, Creative Director, Photographer, Video Editor, 2D 3D Animator

รายได้ (เริ่มต้น)

  • ภาครัฐ 12,000 – 18,000 บาท
  • ภาคเอกชน 15,000 – 30,000 บาท
  • อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์

การศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ (2 ปี ต่อเนื่อง)

คณาจารย์ประจำหลักสูตร

Teachers

นางโฉมจิตรา  ศรีอนุรักษ์

หัวหน้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก
ข้าราชการครู

[email protected]
08 8888 8888

นายโอภาส ชมชื่น

อาจารย์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก
ข้าราชการครู

[email protected]
08 8888 8888

นายพีรพงษ์ วงค์วิชัย

อาจารย์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก
ข้าราชการครู

[email protected]
08 8888 8888

นางธิวาวรรณ  ฟูเต็มวงค์

อาจารย์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก
ข้าราชการครู

[email protected]
08 8888 8888

นางสาวณัฐนรี  วงศ์ธิมา

อาจารย์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก
ข้าราชการครู

[email protected]
08 8888 8888

หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. การจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน ตารางเรียน ตารางสอน บัญชีวิชาเลือก จัดตารางสอนรวมและตารางส่วนบุคคลของแผนกวิชา
  2. ควบคุมดูแล ส่งเสริม กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอน แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกงาน การวัดผลประเมินผล และการวิจัยในแผนกวิชาให้เป็นไปตามหลักสูตรและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
  3. วางแผนและดำเนินงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของแผนกวิชา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่องและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้
  4. จัดหาดูแลรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือของแผนกวิชาให้ใช้งานได้เป็นปกติ และมีเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
  5. สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ การใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน การเขียนตำรา เอกสาร และใบช่วยสอนต่าง ๆ
  6. ติดตามและแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการฝึก โครงการสอน แผนการเรียนรู้ คู่มือครู ใบงาน ตลอดจนแฟ้มสะสมงาน โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนการสอน
  7. ควบคุมการใช้วัสดุการศึกษา และลงทะเบียนผลิตผลของแผนกวิชาให้เป็นไปตามใบงาน
  8. ควบคุมดูแลและพัฒนาสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ให้สะอาดเรียบร้อยทันสมัยอยู่เสมอ
  9. ปกครองดูแลบุคลากรในแผนกวิชาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเสนอความดีความชอบของบุคลากรในแผนกวิชา
  10. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
  11. จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
  12. ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
  13. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย